สบู่ธรรมชาติ
สบู่ธรรมชาติคือสบู่ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่เรียกว่า Saponification มันคือการทำปฏิกริยาระหว่า ด่าง และ ไขมัน
all-about-soap ได้แบ่ง การผลิตสบู่ธรรมชาติ ตามกรรมวิธีการผลิต ได้ดังนี้
1. Natural Cold-Process soap สบู่ผลิตด้วยกระบวนการเย็นโดยธรรมชาติ
กรรมวิธีการผลิตรูปแบบนี้ เป็นกระบวนการผลิตสบู่ที่คงความเป็นธรรมชาติได้ดีที่สุดเหมือนเมื่อพันปีที่ แล้วที่เกิดสบู่ขึ้นบนโลกครั้งแรก
การผลิตจะเริ่มจากการนำเอาวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมี กรด (acid) คือ น้ำมันที่มีคุณประโยชน์ต่างๆ ทั้ง hard oil ซึ่งทำหน้าที่สร้างรูปและตัวตนให้กับสบู่ ในฐานะ based oil เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
Exotic oil เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันหลักของความต้องการที่จะให้สบู่นั้นออกมาแล้วมีประโยชน์ด้านใดบ้าง
ส่วนด่าง (lie) คือตัวประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยา saponification ซึ่งในปัจจุบันนิยมการใช้ sodium hydroxide กรณีต้องการผลิตสบู่ก้อน หรือ potassium hydroxide กรณีต้องการผลิตสบู่เหลว แทนการใช้ขี้เถ้าจากการเผาไหม้ มาผสมกับน้ำสะอาดเหมือนอดีต ทั้งนี้เนื่องจากความไม่เสถียรของค่าความเป็นด่างและความไม่สะดวกในการจัด หา ซึ่ง sodium hydroxide และ potassium hydroxide วัตถุดิบทั้งสอง คือ น้ำเกลือที่ทำให้มีความเข้มข้นสูงด้วยเทคนิคด้านประจุไฟฟ้า จึงถือได้ว่ายังมีความเป็นธรรมชาติเพียงแต่มีความเข้มข้นมาก เกินกว่าที่ผิวมนุษย์จะรับได้
การเตรียมด่างต้องใช้ sodium hydroxide หรือ potassium hydroxide ผสมกับน้ำอย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัย ได้แก่ วิธีการผสม และอัตราส่วนในการผสม ซึ่งจะต้องมีความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยการคำนวณหาค่า SAP Value ที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะทำให้ได้สบู่ที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดในแต่ละสูตร
จาก นั้น เราสามารถเพิ่มเติมคุณประโยชน์จากธรรมชาติเข้าไปในตัวสบู่ได้ คือเพิ่ม active ingredient ต่างๆ ตามที่ต้องการที่จะให้สบู่นั้นทำหน้าที่ เช่น นม น้ำผึ้ง น้ำมันเปลือกมังคุด ผงสาหร่าย ผงโคลน ฯลฯ แล้วเติมแต่งกลิ่นพร้อมประโยชน์ด้วยน้ำมันหอมระเหยตามต้องการ แต่ต้องมีการคำนวณและประมาณอัตราส่วนที่ใช้อย่างพอเหมาะด้วย
สุดท้ายคือการผสมผสานทุกส่วนเข้าด้วยกันจนข้นได้ที่แล้วนำเข้าเก็บไว้ ที่เรียกว่า ageing จนกว่าสบู่จะคลายฤทธิ์และแปรสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการอาบน้ำ
จะ เห็นได้ว่าขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆ เป็นไปตามธรรมชาติทั้งสิ้น โดยเราไม่ต้องนำความร้อนจากภายนอกไปเร่งปฏิกิริยา saponification เลย จึงเป็นที่มาของชื่อ Natural Cold-process soap ซึ่งสบู่แนวนี้เปรียบเสมือนเราเลือกทานข้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสีหรือ เติมแต่ง เช่น ข้าวกล้อง นั่นเอง
2. Natural Hot-process soap สบู่ธรรมชาติผลิตด้วยกระบวนการร้อน
กรรมวิธีการผลิตสบู่แนวนี้ คือการให้ความร้อนจากภายนอกเข้าไปสนับสนุนให้เกิดสบู่สำเร็จรูป ตามลักษณะที่ต้องการแล้วเติมแต่งกลิ่นและสีที่กำหนดไว้ ก็จะได้สบู่ที่มีความสวยงาม สดใสแวววาว มีเสน่ห์น่าใช้ เปรียบเทียบได้กับการทานข้าวขาวหอมมะลิ นั่นเอง
ในความเป็นจริงแล้วการผลิตสบู่แนว นี้มีความยุ่งยากซับซ้อนพอสมควรหาก เริ่มตั้งแต่ต้น คือต้องผ่านกรรมวิธี Cold-process ก่อน แล้วแยกส่วนที่เป็น glycerin ออกมา ซึ่ง glycerin ก็ถือได้ว่าเป็นสบู่สำเร็จ รูปเบื้องต้น สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดได้อย่างปลอดภัย แต่เมื่อต้องการความสวยงามและเสน่ห์ที่น่าใช้ ก็จำเป็นต้องนำ glycerin มาผ่านกระบวนการความร้อนที่จัดเตรียมไว้ เมื่อละลายจนได้ที่จึงเติมแต่งสีสัน เพิ่มกลิ่นด้วย Fragrance (น้ำหอมเคมีสังเคราะห์) เนื่องจาก Essential oil มีราคาสูงและจะสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกความร้อน จึงไม่เป็นที่นิยมเชิงพานิชย์
ความแตกต่างของสบู่ Natural Hot-process soap คุณภาพสูงและต่ำ อาจเกิดจากการใช้ glycerin คุณภาพต่ำ ไม่สะอาดและมีจุดเดือดที่สูง ซึ่งส่วนใหญ่มักผลิตจากไขมันสัตว์ที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ ในประเทศ เพราะมีราคาต่ำกว่า glycerin ที่ผลิตจากพืชที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากราคาที่แตกต่างแล้ว ประโยชน์ตลอดจนความปลอดภัยก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย ผู้ผลิตสบู่แนวนี้ที่ไม่เน้นคุณภาพจึงมักใช้ Glycerin คุณภาพต่ำจากไขมันสัตว์ เพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากกว่า
หากเปรียบเทียบ ในเชิงความเป็นธรรมชาติและประโยชน์แล้ว สบู่ Natural Hot-process soap นี้ มีความเป็นธรรมชาติและประโยชน์น้อยกว่า Natural Cold-Process soap เนื่องจากความร้อนที่นำเข้ามาเติมแต่งในกระบวนการผลิตจะสลายคุณค่าทาง ธรรมชาติออกไป สบู่แนวนี้จึงไม่สามารถออกแบบหรือเติมแต่งสรรพคุณพิเศษใดๆ ได้อีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น